BAM-JMT เตรียมหน้าตักรับซื้อหนี้ปี 65 ตั้งเป้า 1 หมื่นล้านบาท คาดแบงก์ขายหนี้เสียสู่ระบบ 7.7 หมื่นล้านบาท จับตาหนี้จัดชั้น Stage 2 กว่า 1.1 ล้านล้านบาท ทยอยไหลเป็นหนี้เสีย หนุนธุรกิจบริหารหนี้กลับมาคึกคักปี 66
วิกฤติเศรษฐกิจจากการระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจในวงกว้าง แต่ยังไม่สะท้อนภาพรวมของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เนื่องมีหลายมาตรการช่วยเหลือซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และพักทรัพย์พักหนี้ กดให้ตัวเลข NPL ยังทรงตัว แต่สัญญาณหนี้หนี้จัดชั้น Stage2 กว่า 1.1 ล้านล้านบาทไหลเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น
นายบัณฑิต อนันตมงคล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินเทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)หรือ BAM เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า คาดว่าสถาบันการเงินจะนำหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ออกขายประมาณ 77,000 ล้านบาทจากทั้งระบบ 580,000 ล้านบาท ซึ่งมาตรการของธปท.ชะลอการจัดชั้น ส่งผลให้เอ็นพีแอลในระบบไม่มากและแนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นเต็มที่ ซึ่งแนวโน้มเอ็นพีแอลปี 66 น่าจะมากกว่าปี 65 อีกมาก
“ปี 2566 เราจะกลับไปซื้อตามเดิม 10,000 ล้านบาท แต่ปีนี้เราเน้นคุณภาพคือ รับซื้อเฉพาะพื้นที่ เพื่อเก็บสต๊อกที่ลดลง หรือสาขาที่ปรับโครงสร้างหนี้ได้ดีทำให้สต๊อกลดลง โดยจะไม่เข้าแข่งประมูลซื้อเอ็นพีแอล เพราะผู้เล่นหน้าใหม่ให้ราคาสูงมาก ทำให้ประสิทธิภาพในการทำกำไรลดลง แต่ปีนี้ 3 ไตรมาสยอดขายสินทรัพย์รอการขาย (NPA) ขายดีมาก เพิ่มขึ้นกว่า 10% จากปีก่อนทั้งบ้านและที่ดินเปล่า แต่คอนโดฯ ขายออกยาก”นายบัณฑิตกล่าว
สินเชื่อด้อยคุณภาพในระบบธนาคารพาณิชย์ ณ ไตรมาส 3 ปี 2564
สินเชื่อด้อยคุณภาพในระบบธนาคารพาณิชย์ ณ ไตรมาส 3 ปี 2564
สำหรับปี 2564 BAM เข้าประมูลซื้อหนี้ 4,600 ล้านบาท(มูลหนี้เงินต้น) จากเป้าทั้งปีตั้งไว้ 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นปีที่ BAM เข้าซื้อหนี้น้อยมากเมื่อเทียบกับ 4 ปีที่ผ่านมา เพราะมีผู้ซื้อหนี้หน้าใหม่เข้ามาในตลาดไล่ซื้อทรัพย์ในราคาสูง ซึ่ง BAM มองว่า ราคาที่เสนอซื้อนั้นทำให้การบริหารพอร์ตไม่มีประสิทธิภาพและโอกาสทำกำไรลดลง
ขณะที่ปีนี้ทั้งปี มีหนี้เอ็นพีแอล ออกขายเพียง 31,700 ล้านบาท ไม่ถึง 50% ของปีก่อนที่สถาบันการเงินนำเอ็นพีแอลออกขาย 63,000 ล้านบาทหรือ 12% จากเอ็นพีแอลทั้งระบบ 550,000 ล้านบาท ขณะที่พอร์ตเอ็นพีแอลของ BAM มี 1.6-1.7 แสนล้านบาทและ NPA 50,000 ล้านบาท ส่วนเป้าหมายเรียกเก็บสิ้นปีคาดว่า จะปิดได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาทจากเป้ากว่า 17,000 ล้านบาท
“ปีนี้ BAM เน้นกลยุทธ์ในการขายและเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ แต่ทำได้เพียง 50% จากเป้า 3,500 ราย เพราะข้อจำกัดจากโควิด-19 ที่ต้องเว้นระยะห่าง” นายบัณฑิต กล่าว
ส่วนแผนการตั้งบริษัทร่วมทุนหรือ JV:Joint Venture ยังมีจุดที่ต้องพิจารณาในประเด็นการร่วมทุนกับสถาบันการเงินหรือธนาคาร เพราะถ้าใส่เงินทุนเข้ามา เช่น 2,000 ล้านบาท ถ้าตั้งเป้าซื้อหนี้ 10 เท่าของเงินกองทุนในส่วนของ JV จะต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินหรือ P/N ซึ่งหากตั๋ว P/N ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันทางสถาบันการเงินหรือธนาคารจะต้องกันสำรองเช่นเดียวกันกับการตั้งสำรองหนี้
นายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส (JMT)กล่าวว่า ปีหน้าแนวโน้มปริมาณหนี้จะออกมาช่วงหลังไตรมาสสอง เนื่องจากหนี้จัดชั้น(Stage2) ปริมาณรวมกว่า 1.1 ล้านล้านบาท ส่วนยอดคงค้างกลุ่มสินเชื่ออุปโภคบริโภคกว่า 3.6 แสนล้านบาทคิดเป็น 2.9% ซึ่งต้องจับสัญญาณว่า หนี้จัดชั้น Stage2 จะไหลเป็นเอ็นพีแอลหรือ Stage3 เพียงใด
นายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส
นายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส
“สัปดาห์นี้ ผู้ถือหุ้นของ JMTจะใส่เงินเพิ่มทุนอีก 10,000 ล้านบาท ซึ่งไม่มีต้นทุนดอกเบี้ย จึงมีงบประมาณพร้อมรองรับปริมาณหนี้ที่จะออกมาขายในปีหน้าและปีถัดไป” นายสุทธิรักษ์ กล่าว
ส่วนการแข่งขันในตลาดที่มีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามานั้นนายสุทธิรักษ์กล่าวว่า ธุรกิจบริหารหนี้ต้องช่วย
ลูกค้าระยะยาว จึงต้องดูระยะยาวว่าผู้เล่นหน้าใหม่จะไปไหวหรือไม่ ปัจจุบันพอร์ตเอ็นพีแอลของ JMT มี 230,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีบางส่วนเปลี่ยนสถานะเป็น NPA
“ปีนี้ปริมาณขายเอ็นพีแอลใกล้เคียงปีก่อน โดยเทียบจากตัวเราเอง JMT ใช้งบซื้อเอ็นพีแอล 7,000 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่ 3,000 ล้านบาทเท่านั้น โดยทั้งปีนี้คาดว่า จะซื้อทรัพย์ใกล้เคียงเป้าที่ตั้งไว้
6,000-10,000 ล้านบาทที่เหลือข้ามไปประมูลปีหน้า ส่วนกระแสเงินสดเก็บได้ประมาณ 3,000 ล้านบาท พลาดเป้าที่ตั้งไว้ เพราะเผชิญกับโควิด-19 จึงมีการช่วยลูกหนี้บางรายที่ชำระไม่ไหว” นายสุทธิรักศ์กล่าว
ด้านนายสุขสันต์ ยศะสินธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ชโย กรุ๊ป (CHAYO) กล่าวว่า ปีนี้ยังอยู่ภายใต้มาตรการช่วยเหลือ รวมทั้งพักทรัพย์พักหนี้ จึงมีบางส่วนเข้าโครงการของธปท. โดยคาดว่าทั้งปีจะซื้อหนี้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาทจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10,000-12,000 ล้านบาท แต่ซื้อมาแล้ว 6,000 ล้านบาท
นายสุขสันต์ ยศะสินธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ชโย กรุ๊ป
นายสุขสันต์ ยศะสินธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ชโย กรุ๊ป
“CHAYO พร้อมเป็นพันธมิตรกับทุกแบงก์ โดยอยู่ระหว่างเจรจากับบางแห่ง เพราะหากมีพันธมิตรเข้ามาจัดตั้ง JV บริษัทสามารถซื้อหนี้ทั้งมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน คาดว่า ปีหน้าจะเห็นพอร์ตแตะ 9 หมื่นล้านบาทจากสิ้นปีนี้อยู่ที่กว่า 7 หมื่นล้านบาท”นายสุขสันต์ กล่าว
หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,740 วันที่ 16 – 18 ธันวาคม พ.ศ. 2564